- กระจกตา (Cornea) เป็นส่วนหนึ่งของตาที่ครอบคลุมม่านตาและรูม่านตา ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่1ใน6ของตา ทำหน้าที่ในการหักเหแสงไปยังเลนส์ตาและส่งไปยังจอรับภาพ ลักษณะของกระจกตา จะมีความใสและโค้ง จึงทำให้แสงเกิดการหักเหได้
- ม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นวงแหวนที่อยู่ใต้กระจกตาและมีสีต่างกันไปตามกรรมพันธุ์หรือเชื้อชาติ ทำหน้าที่ในการควบคุมขนาดของรูม่านตา โดยการหดตัวหรือขยายตัวของกล้ามเนื้อม่านตา
- รูม่านตา (Pupil) อยู่ตรงกลางของม่านตา เห็นเป็นสีดำทำหน้าที่เหมือนรูรับแสงของกล้องที่ช่วยให้แสงที่เข้าสู่ดวงตา ในขณะที่มีแสงมากรูม่านตาจะหดเล็กลงทำให้แสงเข้าสู่ดวงตาได้น้อยลง ในขณะที่มีแสงน้อยหรือในที่มืด รูม่านตาจะข่ายใหญ่ขึ้นเพื่อรับแสงเข้าสู่ดวงตา
- เลนส์ตา (Lens) เป็นส่วนที่ใสอยู่หลังม่านตา มีหน้าที่ช่วยโฟกัสเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนมากขึ้นสำหรับการอ่านหรือการมองระยะใกล้โดยการปรับรูปร่างของเลนส์ให้เหมาะสม โดยเมื่อายุเพิ่มมากขึ้น เลนส์ตาจะมีลักษณะขุ่นและแข็งขึ้น ส่งผลให้แสงหักเหเข้าตาได้ยากขึ้น ทำให้การมอฃเห็นมีความคมชัดน้อยลง
- จุดรับภาพ (macula) เป็นส่วนของจอประสาทตา ที่มีสีคล้ำเนื่องจากมีเม็ดสีมากกว่าบริเวณอื่น ความสำคัญของจุดรับภาพนี้คือเป็นบริเวณที่รับภาพในการมองตรง และให้รายละเอียดของภาพมากที่สุด
- จอประสาทตา (Retina) ประกอบด้วยเส้นประสาทตาที่มีความละเอียดสูงอยู่ในผนังชั้นในของลูกตา ทำหน้าที่คล้ายกับฟิล์มถ่ายรูปโดยจะส่งผ่านรูปไปยังสมอง
- เส้นประสาทตา (Optic Nerve) เป็นตัวส่งผ่านการกระตุ้นของการมองเห็นจากจอประสาทตามายังสมอง
จากหน้าที่ของส่วนประกอบต่าง ๆ ด้านบน จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบของตาที่มีผลในความคมชัดของการมองเห็นได้แก่ เลนส์ตา และจอประสาทตา โดยเฉพาะที่จุดรับภาพของดวงตา จุดดังกล่าวเป็นจุดที่สำคัญมากต่อการมองเห็น หากมีการเสื่อมหรือเสียไป อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้ โดยเมื่อทำการศึกษาองค์ประกอบภายในของดวงตาแล้ว พบว่าภายในเลนส์ตาและจุดรับภาพของดวงตานั้น ประกอบไปด้วยสารที่สำคัญสองชนิด คือ ลูทีน และ ซีแซนทีน