สารทั้งสองชนิดนี้ นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของเลนส์ตาและจุดรับภาพของดวงตา ซึ่งทำให้การมองเห็นมีความคมชัดแล้ว ยังทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันแสงหรือรังสีที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระ ดังนั้น จึงทำหน้าที่บำรุงดวงตา ทำให้จอตาไม่เสื่อมเร็ว และชะลอการเกิดโรคต่าง ๆ ทางดวงตาได้
แสงแดด ยูวี แสงไฟ และแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ล้วนเป็นแสงที่อันตรายต่อดวงตาซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ในชีวิตประจำวัน โดยแสงที่เป็นอันตรายนั้นเป็น 1 ในสาเหตุของโรคต่าง ๆ ทางดวงตา หากภายในดวงตาของเรามีสารต้านอนุมูลอิสระที่น้อยหรือไม่เพียงพอ จะทำให้แสงหรือรังสีที่เป็นอันตรายต่อดวงตานั้นถูกดูดซึมผ่านดวงตามาและทำลายเซลล์ต่าง ๆ ภายในดวงตาของเราได้มากขึ้น ส่งผลให้ดวงตาเกิดความเสื่อมไวขึ้น หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ สูงขึ้น
จากงานวิจัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ถูกตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์วารสารวิชาการ Investigative Ophthalmology & Visual Science หรือ ARVO และวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Nutrients ของสำนักพิมพ์ MDPI ได้ตีพิมพ์ข้อมูลประโยชน์ของลูทีนต่อดวงตา โดยเมื่อรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า
ที่มา : Koushan, Keyvan et al. “The role of lutein in eye-related disease.” Nutrients vol. 5,5 1823-39. 22 May. 2013, doi:10.3390/nu5051823Roberts, Joan E, and Jessica Dennison. “The Photobiology of Lutein and Zeaxanthin in the Eye.” Journal of ophthalmology vol. 2015 (2015): 687173. doi:10.1155/2015/687173
Li, Long Hin et al. “Lutein Supplementation for Eye Diseases.” Nutrients vol. 12,6 1721. 9 Jun. 2020, doi:10.3390/nu12061721
Huang, Yang-Mu et al. “Effect of supplemental lutein and zeaxanthin on serum, macular pigmentation, and visual performance in patients with early age-related macular degeneration.” BioMed research international vol. 2015 (2015): 564738. doi:10.1155/2015/564738
Li, Long Hin et al. “Lutein Supplementation for Eye Diseases.” Nutrients vol. 12,6 1721. 9 Jun. 2020, doi:10.3390/nu12061721